คณะกรรมการจัดทำมาตรฐาน

ประกอบด้วยคณะทำงานที่สำคัญ 3 กลุ่ม ได้แก่

  1. คณะกรรมการพิจารณามาตรฐาน (Standard Committee, SC) จัดตั้งขึ้นตามมติที่ประชุมคณะกรรมาธิการมาตรการสุขอนามัยพืช (CPM) ครั้งที่ 1 พ.ศ.2549 (ค.ศ.2006) ประกอบด้วยสมาชิก 25 คน มีวาระครั้งละ 3 ปี ติดต่อกันได้ 2 ครั้ง ผู้แทน SC คัดเลือกจากประเทศสมาชิก FAO 7 ภูมิภาค ดังนี้
    • ภูมิภาคอาฟริกา ภูมิภาคเอเซีย ภูมิภาคยุโรป ภูมิภาคลาตินอเมริกาและหมู่เกาะคาริบเบียน ภูมิภาคตะวันออกกลาง มีผู้แทนภูมิภาคละ 4 คน
    • ภูมิภาคอเมริกาเหนือ ภูมิภาคละ 2 คน
    • ภูมิภาคแปซิฟิกตะวันตกเฉียงใต้ ภูมิภาคละ 2 คน
    SC แต่ละคนอยู่ในวาระคราวละ 3 ปี ติดต่อกันได้ไม่เกิน 2 วาระ SC มีการประชุมปีละ 2 ครั้ง โดยสำนักเลขาธิการอนุสัญญา IPPC ทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ ความรับผิดชอบของ SC ได้แก่
    • กำกับควบคุมกระบวนการจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศด้านมาตรการสุขอนามัยพืช (International Standards for Phytosanitary Measures, ISPMs)
    • จัดการและจัดทำมาตรฐาน ISPMs
    • จัดทำแนวทางและกำกับการทำงานของคณะทำงานวิชาการ (Technical Panels, TPs) และคณะผู้เชี่ยวชาญที่ทำงานเฉพาะด้าน (Expert Working Groups, EWGs)
    ผู้แทนประเทศไทยที่เป็น SC ในฐานะผู้แทนภูมิภาคเอเซีย ได้แก่ นายอุดร อุณหวุฒิ ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร (วาระ พ.ศ.2552 –พ.ศ.2555) นางวลัยกร รัตนเดชากุล ผู้แทนจากกรมวิชาการเกษตร (วาระแรก พ.ศ.2558 –พ.ศ.2561)
  2. คณะทำงานวิชาการ (Technical Panels, TPs) เป็นกลุ่มคณะทำงานที่แต่งตั้งโดยคณะกรรมการพิจารณามาตรฐาน (SC) เพื่อช่วยพิจารณางานวิชาการด้านสุขอนามัยพืชเฉพาะด้าน และช่วย SC พิจารณาสาระร่างมาตรฐาน ISPMs เอกสารแนบมาตรฐาน ISPMs และแนวทางวิชาการที่มีความเฉพาะเจาะจงแต่ละด้าน คณะกรรมการชุดนี้แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่
    • Technical Panels on diagnostic protocols (TPDP)
    • Technical panel on forest quarantine (TPFQ)
    • Technical panel on fruit flies (TPFF)
    • Technical panel for the Glossary (TPG)
    • Technical panel on phytosanitary treatments (TPPT)
    TPs แต่ละคณะมีสมาชิกประมาณ 6-10 คน มีคุณสมบัติและการดำเนินงานตาม Terms of Reference and Rules of Procedure for Technical Panels ที่ได้รับการเห็นชอบจากมติที่ประชุม CPM ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2551 โดยองค์ประกอบของสมาชิกคัดเลือกจากผู้แทนที่ได้รับการเสนอชื่อจากภูมิภาคต่างๆทั่วโลก
  3. คณะผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Expert Working Groups, EWGs) เป็นคณะทำงานที่จัดตั้งขึ้นเมื่อคณะกรรมการพิจารณามาตรฐาน (SC) เห็นชอบกรอบเนื้อหา (Specification) ของ draft ISPMs เรื่องที่จะจัดทำใหม่ สำนักเลขาธิการอนุสัญญา IPPC จะเวียนขอผู้แทนจากประเทศภาคีสมาชิกที่เป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน (Call for experts) ที่เกี่ยวข้อง แล้วเสนอชื่อให้ SC พิจารณาให้ความเห็นชอบ

    EWGs แต่ละคณะประกอบด้วยสมาชิก 6 – 10 ผู้แทนที่ประเทศเสนอชื่อมาต้องมีคุณสมบัติและการดำเนินงานตาม IPPC Procedure Manual for Standard Setting และต้องเซ็นยินยอมใน statement of commitment

    EWGs แต่ละคณะมีหน้าที่จัดทำ draft ISPMs โดยมีผู้จัดการ (steward) ของแต่ละคณะ 1 คน ที่ SC แต่งตั้งเป็นผู้ประสานงานระหว่างสำนักเลขาธิการอนุสัญญา IPPC และ EWGs แต่ละคน โดยใช้ช่องทางผ่านทางจดหมายอิเล็กทรอนิคส์ และจัดให้มีการประชุมเพื่อพิจารณาร่วมกัน 1 ครั้ง ซึ่งหากไม่มีประเทศใดรับเป็นเจ้าภาพ จะใช้ที่ประชุม ณ สำนักงานใหญ่ FAO

    ผู้แทนประเทศไทยที่ได้รับคัดเลือกเข้าร่วมประชุม Expert Working Group พิจารณา draft ISPM เรื่อง “Guidelines for Regulating Potato Micropropagation Materials in International Trade” ระหว่างวันที่ 12-16 กันยายน 2548 ณ สก็อตแลนด์ ประเทศอังกฤษ ได้แก่ นายนิพนธ์ ทวีชัย อาจารย์จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์