องค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ (NPPO)
ตามมาตรา 4 ของอนุสัญญา IPPC ให้ประเทศภาคีสมาชิกกำหนดหน่วยงานที่ทำหน้าที่เป็นองค์กรอารักขาพืชแห่งชาติ หรือ National Plant Protection Organization (NPPO) ความรับผิดชอบของ NPPO ตามมาตรา 4 ของอนุสัญญา IPPC มีดังนี้
- ก) ออกใบรับรองที่เกี่ยวข้องกับระเบียบข้อบังคับสุขอนามัยพืชของประเทศภาคีสมาชิกผู้นำเข้า สำหรับสินค้าพืชที่ส่งมอบ (consignments of plants) ผลิตผลพืช (plant products) และวัตถุควบคุม (regulated articles)
- ข) เฝ้าระวังพืชปลูก ที่อยู่ทั้งในพื้นที่เพาะปลูก (ไร่นา แปลงพืชขนาดใหญ่ แปลงเพาะชำ สวน เรือนกระจก และห้องปฏิบัติการต่างๆ) และพื้นที่ป่า รวมทั้งพืชและผลิตผลพืชต่างๆ ในคลังเก็บสินค้า หรือในการขนส่ง เพื่อรายงานการเกิดขึ้น (occurrence) การระบาด (outbreak) การแพร่กระจาย (spread) ของศัตรูพืชต่างๆ และการควบคุมศัตรูพืชเหล่านั้น รวมถึงการรายงานที่เกี่ยวข้องภายใต้มาตรา 8 วรรค 1 (ก)
- ค) ตรวจสอบสินค้าที่ส่งมอบต่างๆ ที่เป็นพืชและผลิตผลพืชต่างๆ ที่มีการเคลื่อนย้ายตามเส้นทางระหว่างประเทศหรือตามเส้นทางที่เหมาะสม และตรวจสอบวัตถุควบคุมอื่นๆ เพื่อจุดมุ่งหมายในการป้องกันการนำเข้า (introduction) และ/หรือ การแพร่กระจาย (spread) ของศัตรูพืชต่างๆ
- ง) ทำการหยุดยั้งการลงทำความเสียหาย หรือ จัดการทำลายเชื้อโรคของสินค้าที่ส่งมอบที่เป็นพืช และผลิตผลพืช และวัตถุควบคุม ที่มีการเคลื่อนย้ายตามเส้นทางระหว่างประเทศ ให้เป็นไปตามข้อกำหนดสุขอนามัยพืช
- จ) ปกป้องรักษาพื้นที่ที่อยู่ในอันตราย กำหนดที่ตั้ง บำรุงรักษา เฝ้าระวังพื้นที่ปลอดศัตรูพืช และพื้นที่ที่มีความแพร่กระจายของศัตรูพืชต่ำ
- ฉ) ดำเนินงานการวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
- ช) ทำให้แน่ใจโดยวิธีการต่างๆที่เหมาะสมหลังจากการออกใบรับรอง ว่าสินค้าที่ส่งมอบที่เกี่ยวข้องกับองค์ประกอบ การทดแทน และการลงของศัตรูพืชที่อาจทำความเสียหายอีก ได้รับการดูแลรักษาให้มีความปลอดภัยทางสุขอนามัยพืช ก่อนการส่งออก
- ซ) ทำการอบรมและการพัฒนาการบุคลากรเจ้าหน้าที่
หน่วยงานที่ทำหน้าที่ NPPO ของประเทศไทย ได้แก่ กรมวิชาการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระราชบัญญัติกักพืช พ.ศ.2507 แกไขเพิ่มเติมโดย พระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542 และพระราชบัญญัติกักพืช (ฉบับที่ 3) พ.ศ. 2551 โดยมีหน่วยงานภายใน 3 หน่วย ได้แก่ สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช และกองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช ปฏิบัติหน้าที่ในฐานะ NPPOดังนี้
- สำนักควบคุมพืชและวัสดุการเกษตร
- ควบคุมการนำเข้า ส่งออก นำผ่าน สินค้าส่งมอบด้านพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัคถุควบคุมที่เคลื่อนย้ายระหว่างประเทศ
- ออกใบอนุญาตนำเข้า (import permit)
- ตรวจสอบและอนุญาตนำเข้าสินค้าส่งมอบด้านพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัคถุควบคุม
- ตรวจสอบและออกใบรับรองสุขอนามัยพืช (phytosanitary certification)
- แจ้งประเทศผู้นำเข้า กรณีที่ปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฏหมายกักพืชของประเทศไทย (Notification of non-compliance)
- กำกับ ดูแลวิธีปฏิบัติต่อวัสดุบรรจุภัณฑ์ไม้ (wood packaging material) ให้เป็นไปตามมาตรฐาน ISPM หมายเลข 15 (Guidelines for regulating wood packaging material in international trade)
- กำกับ ดูแลด่านตรวจพืช 48 ด่าน
- สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช
- วิจัยและพัฒนางานด้านอารักขาพืชและกักกันพืช
- กำกับ ดูแล งานทดลองประสิทธิภาพเพื่อขึ้นทะเบียนสารกำจัดศัตรูพืช
- บริการงานวิชาการด้านต่างๆ เช่น ออกใบรับรองสุขอนามัยพืช วินิจฉัยศัตรูพืช สารชีวภัณฑ์ควบคุมศัตรูพืช ชุดทดสอบสำหรับการวินิจฉัยโรคพืช การผลิตพืชปลอดโรค
- ดูแล รักษาพิพิธภัณฑ์แมลง วัชพืช และโรคพืช รวมทั้งเป็นศูนย์รวบรวมจุลินทรีย์ทางการเกษตร
- กำกับ ดูแล งานเฝ้าระวังศัตรูพืช และงานวิเคราะห์ความเสี่ยงศัตรูพืช
- ถ่ายโอนเทคโนโลยีงานอารักขาพืชให้กับเกษตรกร, หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องและภาคเอกชน
- กองพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าพืช
- ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในประเด็น “ความตกลงมาตรการสุขอนามัยและสุขอนามัยพืช หรือ ความตกลง SPS”
- รับข้อมูลจากประเทศผู้นำเข้าสินค้าด้านพืช ผลิตภัณฑ์พืช และวัคถุควบคุม ที่ส่งออกจากประเทศไทย และปฏิบัติไม่เป็นไปตามเงื่อนไขกฏหมายกักพืชของประเทศผู้นำเข้านั้น